ชาวเขา หมายถึง
กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเอง
อาศัยอยู่บนภูเขา มีอาชีพและรายได้จากการเกษตรเป็นหลัก
ลักษณะด้านครอบครัว
เครือญาติและชุมชนระดับหมู่บ้านของแต่ละเผ่ามีเอกลักษณ์ของตน
ซึ่งแตกต่างกันทุกเผ่ายังคงนับถือผีที่สืบทอดมาจาก
บรรพบุรุษเป็นส่วนมาก
และการแต่งงานก็ยังนิยมแต่งงานกันกับคนในเผ่าของตนเองมากกว่าแต่งกับคนนอกเผ่า
ทางราชการได้ให้คำจำกัดความ
ชาวเขา
หมายถึงบุคคลที่อยู่ใน 9 เผ่า คือ กะเหรี่ยง แม้ว เย้า มูเซอ
ลีซอ อีก้อ ลัวะ ขมุ และถิ่น
ส่วนเผ่าอื่น ๆ ไม่ถือว่าเป็นชาวเขา สำหรับชนเผ่าอื่น ๆ เช่น ผีตองเหลือง
ปะหล่อง ปางตอง คะฉิ่น ไทยใหญ่ มอญ จีนฮ่อ ฯลฯ
กลุ่มชนเหล่านี้ถูก เรียกว่า ชนกลุ่มน้อย
(Minotity Group) หรือกลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic
Group) อย่างไรก็ตาม
นักวิชาการด้านมนุษย์วิทยาบางท่านก็มีความเห็นว่า
ผีตองเหลือง ปะหล่องและปางตอง น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มชนที่เรียกว่า
ชาวเขา
เนื่องจากมีความเจริญในระดับเผ่าพันธุ์เท่านั้น
สถิติประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนบนพื้นที่สูงของประเทศไทย
ปี พ.ศ.2545 (กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ, 2545 :11)
จำแนกรายการตาม
กลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ 20 จังหวัด จำแนกเป็นชาวเขา จำนวน 10
เผ่า มีจำนวน 923,257 คน 164,637 หลังคาเรือน 186,413 ครอบครัว
3,422 กลุ่ม
บ้าน เผ่ากะเหรี่ยง ประชากรมากที่สุด จำนวน 438,131 คน
อดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนเข้าไปดำเนินงานในหมู่บ้านชาวเขาจำนวนมาก
นโยบายหลักของรัฐเกี่ยวกับเรื่องชาวเขาคือนโยบายรวมพวก (Integration
Policy)
โดยใช้วิธีพัฒนาชาวเขาให้เป็นคนไทยที่มีคุณภาพและช่วยเหลือตนเองได้
ให้อาศัยอยู่เป็นหลักแหล่ง
อย่างถาวร ไม่บุรุกทำลายป่า ไม่ปลูกหรือผลิตซื้อขายหรือเสพยาเสพติด
การรวมพวก หมายถึง
การที่ชาวเขาอาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยบนผืนแผ่นดินไทยได้ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง
โดยมีสิทธิ
และหน้าที่เช่นเดียวกับคนไทย
ขณะเดียวกันก็สามารถที่จะดำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามในเผ่าของตนเองไว้ให้สืบสวนเป็นมรดกตกทอดต่อไป
ทั้งนี้จะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณ่าจากทุกหน่วยงานที่เข้าไปดำเนินงานในหมู่บ้านด้วย
|