รวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
 

 

 

                 
 

 

     

        

1. การแบ่งกลุ่มย่อยและประวัติความเป็นมา

            แม้วเป็นชนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศจีนและประเทศต่าง ๆ ในเอเชียอาคเนย์  คือเวียตนาม  เมียนมาร์  ลาว และประเทศไทย  ชาวเขาเผ่าแม้วที่อยู่ในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ แม้วขาว และแม้วเขียว  การแบ่งชื่อกลุ่มย่อยดังกล่าว  แบ่งตามการเรียกชื่อของเขาเอง  กล่าวคือ  แม้วขาวเรียกตนเองว่า “ฮม้ง เด๊อว์”  และแม้วเขียวเรียกตกเองว่า  “ฮม้ง  จั๊ว”  การเรียกชื่อกลุ่มย่อมแม้วเขียวในประเทศไทยมีชื่อเรียกโดย
คนต่าง ๆ เผ่าว่า
“แม้วน้ำเงิน”  “แม้วลาย”  “แม้วดอก”   “แม้วดำ”  ซึ่งชื่อเหล่านี้ต่างหมายถึง “แม้วเขียว” 
 ทั้งสิ้น  แต่ชื่อที่นิยมใช้เรียกชื่อกลุ่มนี้มีมากที่สุดคือ
“แม้วน้ำเงิน”

                    นักภาษาศาสตร์ได้จัดแม้วให้อยู่ในตระกูลภาษาแม้ว – เย้า ในกลุ่มธิเบต  อย่างไรก็ดี 
ความเห็นในการจัดกลุ่มดังกล่าวเป็นเพียงความเห็นหนึ่งซึ่งได้รับการยอมรับกันแพร่หลายเท่านั้น  ซึ่งถ้าพิจารณา
ในแง่ของการพัฒนาแล้วจะเห็นไห้ว่าความรู้ที่ได้จากการจัดกลุ่มภาษานั้นอาจใช้ประโยชน์ได้น้อยในทางปฏิบัติ 
โดยสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มคน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพการณ์ปัจจุบันที่ชาวเขามีการติดต่อกับโลกภายนอกมากขึ้นกว่าในอดีต

 

2. การกระจายตัวของประชากร

                   ปัจจุบันแม้วในประเทศไทย กระจายตัวอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย  3 จังหวัด
คือ กำแพงเพชร  เชียงราย  เชียงใหม่  ตาก  น่าน  พิษณุโลก  เพชรบูรณ์  พะเยา  แพร่  แม่ฮ่องสอน  ลำปาง  สุโขทัยและเลย  มีจำนวนหมู่บ้าน 250 หมู่บ้าน  9,082 หลังคาเรือน  ประชากร  151,080 คน  คิดเป็นร้อยละ 16.52 ของจำนวนประชากรชาวเขาทั้งหมดในประเทศไทย 

                  แม้วมีประชากรมากเป็นอันดับสอง รองลงมาจากเผ่ากะเหรี่ยง  ในด้านการกระจายตัวของประชากรแม้วเป็นเผ่าที่มีการกระจายตัวไปในหลายจังหวัดเพราะอดีตมีการอพยพเคลื่อนย้ายกันบ่อยมาก 
เมื่อคิดจากจำนวนประชากรและจำนวนหลังคาเรือนทั้งประเทศปรากฎว่าจำนวนประชากรโดนเฉลี่ยต่อหลังคาเรือน 7.83  คน  ขนาดครัวเรือนจึงมีขนาดค่อนข้างใหญ่  เนื่องจากแม้วนิยมการอยู่ร่วมกันเป็นแบบครอบครัวขยาย 
คือมีหลายครอบครัวอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน  ครอบครัวแบบขยายนอกจากจะเป็นลักษณะครอบครัวตามประเพณี
ของแม้วแล้ว  การอยู่ร่วมกันยังจะให้ผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจอีกด้วย   เนื่องจากมีกำลังแรงงานมากในครัวเรือนจะเห็นได้ชัดเจน่จากากรศึกษาของนักวิจัยชาวต่างประเทศคนหนึ่งชื่อ
“คูเปอร์” ที่บ้านผาปู่จอม  อำเภอแม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่   ซึ่งพบว่าครัวเรือนซึ่งเป็นครัวเรือนที่มีรายได้มากกว่า 6,000 บาท ขึ้นไปมีสมาชิกตั้งแต่สิบคน
ขึ้นไปทั้งสิ้น  ส่วนครัวเรือนซึ่งมีสมาชิก 4 คน ซึ่งมีอยู่  6 หลังคาเรือน  ล้วนแต่มีรายได้รวมไม่เกิน 3,000 บาท

 

3. การตั้งถิ่นฐาน

                การตั้งถิ่นฐานของแม้ว  ส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานเป็นแบบหมู่บ้าน  ขนาด 20 – 30 หลังคาเรือน 
วิลเลียม  อาร์  เกดเดส  นักมานุษยวิทยาชาวออสเตรเลียได้ศึกษากระบวนการตั้งถิ่นฐานการขยายตัวของหมู่บ้าน  และการตั้งหมู่บ้านใหม่ของแม้วพบว่าขนาดของหมู่บ้านมักจะขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและความ    
กว้างของพื้นที่  เมื่อมีการตั้งหมู่บ้านขึ้นในระยะแรกพื้นที่ที่ใช้ประกอบการเกษตรมักจะอยู่รอบ ๆ หมู่บ้านมีระยะไกลขึ้น  ก่อให้เกิดความยากลำบากในการเดินทาง ดังนั้น จึงได้มีการสร้างกระท่อมหรือบ้านแบบง่าย ๆ ขึ้นในไร่เพื่อ
ใช้อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราว  และในหลายกรณีสมาชิกในหมู่บ้านจะอยู่อาศัยในกระท่อมที่ไร่เป็นระยะเวลานาน 
โดยจะทิ้งสัตว์เลี้ยงไว้ในหมู่บ้านให้เด็กและผู้สูงอายุเป็นผู้ดูแล  ในระยะต่อมาที่อยู่อาศัยชั่วคราวในไร่จะก่อตัว
เป็นหมู่บ้านใหม่และบางครอบครัวจะอพยพไปหาที่ดินกินในแหล่งอื่น

 

4. ระบบครอบครัวและเครือญาติ

                  ระบบครอบครัวและเครือญาติคือ  การจัดรูปแบบความสัมพันธ์ของบุคคลต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกันทางสายเลือดหรือสัมพันธ์กันเนื่องจากต่างงานกัน หรือบุคคลที่สังคมแม้วระบุว่าเป็นเครือญาติกันแม้ว่า
จะมิได้มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือดหรือการแต่งงาน  ความสัมพันธ์เหล่านี้ออกมาในรูปแบบต่าง ๆ
กันดังต่อไปนี้คือ

                                4.1 ความสัมพันธ์แบบครอบครัว  เป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบหนึ่งระหว่างสมาชิกในครัวเรือนเดียวกัน  นับว่าเป็นความสัมพันธ์ที่กระซับที่สุดในสังคมแม้ว  สมาชิกในครัวเรือนจะมีความผูกพัน 
ความสนิทสนม  ความรักใคร่ปรองดองกันมากกว่าบุคคลอื่น ๆ นอกครัวเรือน  หน่วยที่เล็กที่สุดในครัวเรือน
ได้แก่ครอบครัวเดี่ยวซึ่งประกอบด้วย พ่อ  แม่  และลูก  หรือเป็นความสัมพันธ์ในแบบพ่อแม่และลูก  นอกจากนี้ยังอาจมีหลายครอบครัวในครัวเรือนเดียวกัน  ซึ่งจัดว่าเป็นครอบครัวแบบขยาย  ดังนั้นครอบครัวแบบขายจึงมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติขยายขอบเขตออกไปเป็นความสัมพันธ์  แบบปู่ย่า  พ่อแม่  ลูกหลาน  พี่เขย  พี่สะใภ้  น้องเขย 
น้องสะใภ้  เป็นต้น  คือมีสมาชิกมากกว่าสองชั่วรุ่นอายุคน  ความสัมพันธ์ในแบบนี้แม้วเรียกว่า
“อี้ เจ๋ เหน่งฮ์” 
ซึ่งมีความหมายว่า
“คนในบ้านเดียวกัน”

                 โดยปกติแม้วมักจะนิยมตั้งครอบครัวเป็นแบบครอบครัวขยาย  คือบุตรชายที่แต่งงานแล้วจะพาฝ่ายสาวมาอยู่รวมในบ้านหลังเดียวกันกับพ่อแม่ของตน  ในทางกลับกันบุตรหญิงที่แต่งงานแล้ว 
จะแยกครอบครัวไปอยู่กับบิดามารดาของฝ่ายชาย  การประกอบการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกข้าว
ของสมาชิกในครัวเรือนเดียวกันซึ่งเป็นครอบครัวแบบขยายจะกระทำร่วมกัน  ซึ่งมักจะไม่แยกว่าพื้นที่ส่วนใดเป็น
ของครอบครัวไหน  ผลผลิตที่ได้มาเป็นกองกลางสำหรับสมาชิกในครัวเรือน  ส่วนกิจกรรมทางการเกษตรอื่น ๆ
เช่น การปลูกข้าวโพด  การปลูกฝิ่น  เป็นต้น  อาจมีการแยกกันทำเป็นการส่วนตัวในครอบครัวต่าง ๆ ของครัวเรือน  ซึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแต่ละครอบครัว  นอกจากครัวเรือนจะเป็นหน่วยผลิตที่สำคัญแล้วเป็นแหล่งที่มา
ของกิจกรรมอื่น ๆ ที่สำคัญของสังคมอีกด้วย  เช่น  การอบรมเลี้ยงดูสมาชิก  การถ่ายทอดค่านิยม  ความเชื่อ 
ตามวัฒนธรรมประเพณี  การประกอบพิธีกรรทางความเชื่อ  เป็นต้น

                                4.2 ความสัมพันธ์แบบสายตระกูล  เป็นความสัมพันธ์อีกรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่มีระดับกว้างกว่าความสัมพันธ์ในครัวเรือน  ขอบเขตความสัมพันธ์แบบนี้เป็นไปตามการนับถือเครือญาติในวัฒนธรรมของแม้ว  เรียกว่า
“อี้ จั๊ว กื๋อ ตี้”  ซึ่งหมายความว่า “พี่น้องกลุ่มหนึ่ง”

               แม้วมีการสืบเชื้อสายทางฝ่ายชาย  การสืบเชื้อสายที่แสดงความเป็นเครือญาติในสายตระกูลเดียวกันนี้จะมีขอบเขตให้ถึงห้าชั่วรุ่นอายุคน  คือนับตั้งแต่รุ่นลูก (หมีหยัวะ) รุ่นพ่อ – แม่ (ตสี – เหนียะ)
รุ่นปู่-ย่า(เหย่อร์
– ป่อฮ์)   รุ่นทวด (ก๊ง) และรุ่นพ่อแม่ของทวด (ซั้ว)

               ดังนั้นในระหว่างแม้วด้วยกัน  ถ้าสามารถสืบได้ว่าสืบเชื้อสายโดยตรงมาจากทั้งห้ารุ่นดังกล่าวถือว่าเป็นสายตระกูลเดียวกันทั้งสิ้น  และผู้ที่อยู่ในสายตระกูลเดียวกันจะมีเครื่องแสดงที่สำคัญอยู่อย่างหนึ่ง
คือ  การนับถือผีบรรพบุรุษชนิดเดียวกันหรือที่แม้วเรียกว่า
“สึกั้ง”  หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ  แม้วในแต่ละสายตระกูล
จะมีผีบรรพบุรุษแต่ละชนิดเป็นของตนเอง บรรดา
“สึกั้ง”  ที่แม้วนับถือนั้นได้แก่บรรดาบรรพบุรุษที่ล่วงลับ
ไปแล้วที่นอกเหนือไปจากชั่วรุ่นพ่อแม่ของทวด (ซั้ว) ซึ่งเชื่อว่าบรรพบุรุษเหล่านี้จะคอยปกป้องคุ้มครองภัย
ให้แก่ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่

               จะเห็นได้ว่ากลุ่มสายตระกูลของแม้วเป็นกลุ่มทางสังคมขนาดใหญ่ดังนั้นสมาชิกในกลุ่มสังคมนี้จะประกอบด้วยครัวเรือนต่าง ๆ หลายครัวเรือนและย่อมจะมีครัวเรือนที่อยู่ต่างหมู่บ้านกัน 
ความผูกพันทางสังคมของสมาชิกที่อยู่ในสายตระกูลเดียวกันแสดงออกโดยการเข้าร่วมในพิธีกรรมต่าง ๆ
ที่สำคัญเช่นพิธีแต่งงานและพิธีศพ  เป็นต้น  นอกจากนี้  ครัวเรือนของพี่น้องที่อยู่ในสายตระกูลเดียวกัน
มักจะตั้งอยู่ใกล้ชิดกัน  และแม้ว่าแต่ละครัวเรือนจะประกอบการเกษตรแยกจากกันแต่ก็อาจมีการช่วยเหลือกัน
ในกรณีที่มีความต้องการแรงงานในไร่มากหรือในกรณีที่เกิดการเจ็บป่วยและอาจมีการช่วยเหลือเลี้ยงดูแลเด็กด้วย  การอพยพของครัวเรือน  มักจะนิยมอพยพไปยังหมู่บ้านที่มีครัวเรือนที่เป็นสายตระกูลเดียวกัน 
สำหรับการแผ่กระจายของสายตระกูลออกไปอย่างกว้างขวางในหมู่บ้านต่าง ๆ นั้นก่อให้เกิดความมั่นคง
ทางเศรษฐกิจภายในระบบการเกษตรแบบการทำไร่เลื่อนลอย  โดยที่ครอบครัวของสายตระกูลตามหมู่บ้านต่าง ๆ 
จะเป็นแหล่งที่ให้ข่าวสารเกี่ยวกับพื้นที่ทำมาหากินที่อุดมสมบูรณ์ทำให้ฐาติพี่น้องที่อยู่อาศัยในพื้นที่อื่น 
ที่ขาดแคลนทรัพยากรได้มีโอกาสอพยพเข้าไปตั้งหลักแหล่งใหม่ในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าที่เดิม

                                4.3 ความสัมพันธ์แบบแซ่ตระกูล   เป็นความสัมพันธ์ทางเครือญาติในอีกระดับหนึ่ง
ซึ่งกว้างขวางกว่าความสัมพันธ์ในแบบครัวเรือน  และแบบสายตระกูลความสัมพันธ์ในแบบนี้มีแซ่ตระกูลหรือที่แม้วเรียกว่า
“เส่ง”  เป็นตัวกำหนดความเป็นเครือญาติในระดับนี้แม้ว่าสมาชิกบางคนหรือหลายๆคนจะไม่ได้มี
ความสัมพันธ์กันทางสายเลือดเลย  แต่วัฒนธรรมของแม้วก็ได้กำหนดให้บุคคลใช้แซ่เดียวกันมีความเป็นพี่น้อง 
หรือเป็นเครือญาติกัน  ดังนั้นชายหญิงที่มีแซ่เดียวกันจึงไม่สามารถที่จะแต่งงาน  หรือมีความสัมพันธ์ทางเพศ 
ข้อห้ามดังกล่าวยังได้ครอบคลุมไปถึงแม้วทั้งสองกลุ่ม  คือแม้วขาว  และแม้วเขียวที่ใช้แซ่เดียวกัน  จะเห็นได้ว่า 
 การจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคมในแบบนี้เป็นการจัดที่กว้างขวาง  และรวมสมาชิกเข้าไว้เป็นจำนวนมากมาย  ดังจะเห็นได้ว่าแม้วในประเทศไทยมีจำนวน  151,080 คน  แต่มีแซ่ตระกูลของแม้วที่อยู่ในประเทศไทยเพียง  14 
แซ่ คือ  1.แซ่ท่อ  2. แซ่ว่า  3.แซ่ย่า  4.แซ่ซ่ง  5.แซ่หะ  6.แซ่วื่อ  7. แซ่เฮ่อ  8.แซ่หมั่ว  9. แซ่หลี่  10.แซ่โล่ว  11.แซ่จ๊า  12แซ่ฟ่า  13.แซ่ค้า  14.แซ่กื่อ

               อย่างไรก็ตามการที่แม้วมีแซ่ตระกูลมิได้เพียงเพื่อให้บุคคลมีนามสกุลหรือแซ่เท่านั้น  แต่วัฒนธรรมของเขายังได้กำหนดหน้าที่ที่บุคคลพึงกระทำต่อบุคคลอื่น ๆ ที่มีแซ่เดียวกัน  เช่น  การให้ที่พักและอาหารแก่คนแซ่ตระกูลเดียวกันที่เข้ามาเยี่ยมเยียนในหมู่บ้านแม้ว่าจะมิได้มีความสัมพันธ์ในแบบสายตระกูลก็ตาม

                                4.4 ความสัมพันธ์แบบต่างแซ่ตระกูล  เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการแต่งงานระหว่างชายและหญิง ซึ่งสามารถจัดได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ทางเครือญาติในอีกรูปแบบหนึ่งระหว่างบุคคลต่างแซ่ตระกูล  แต่เป็นการถือเครือญาติที่ไม่กว้างขวางนักซึ่งโดยปกติมักจะเป็นความระหว่างสองครัวเรือนที่ชายและหญิงแต่งงานกัน  กล่าวคือฝ่ายชายจะเรียกครอบครัวของฝ่ายหญิงว่า “เน่ง   จา”  ซึ่งความหมายว่า“ครอบครัวของภรรยา” ได้แก่พ่อแม่พี่น้องของภรรยา  ความสำคัญของการจัดเครือญาติในแบบนี้คือเป็นการเชื่อมโยงระหว่างแซ่ตระกูล
ต่าง ๆ กัน  ให้เกิดเป็นสังคมแม้วรวมทั้งหมด  แม้ว่าจะไม่เป็นความสัมพันธ์ที่กว้างขวางอย่างไรระดับสายตระกูลก็ตาม

              ความสัมพันธ์ของฝ่ายชายกับครอบครัวของภรรยาอยู่ในข้อกำหนด ถ้าพ่อของภรรยาเสียชีวิตลงเป็นหน้าที่ของสามีที่จะต้องฆ่าวัวให้แก่ครอบครัวภรรยา นอกจากนี้ฝ่ายชายเมื่อแต่งงานก็อาจไปอยู่กับครอบครัวฝ่ายหญิงเพี่อทำงานให้แก่พ่อตา  เพื่อทดแทนค่าสินสอดในกรณีที่ไม่มีเงินค่าสินสอด

              กล่าวโดยสรุป การจัดระเบียบทางสังคมของแม้วเป็นการจัดระเบียบอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของความเป็นเครือญาติ ทั้งนี้โดยเริ่มตั้งแต่ครอบครัว สายตระกูลและแซ่ตระกูล โดยมีความสัมพันธ์ทางการแต่งงานเป็นเครื่องเชื่อมโยงแซ่ตระกูลต่าง ๆ  จึงทำให้ติดต่อสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

 

 

5. ระบบความเชื่อ

              โดยทั่วไป  แม้วมีความเชื่อแบบนับถือผี ผสมกับการบูชาบรรพบุรุษ สาระสำคัญของระบบความเชื่อดังกล่าวได้แก่  วามเชื่อในเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ  อย่างไรก็ตามมิได้หมายความว่าแม้วมองปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ว่าอยู่ภายใต้การบงการของอำนาจเหนือธรรมชาติทั้งสิ้น แต่หมายความว่าความเชื่อเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติมีความสำคัญอยู่ในวัฒนธรรมและสังคมของเขา

                           สิ่งเหนือธรรมชาติตามระบบความเชื่อของแม้วสามารถแบ่งออกได้เป็น  2  ชนิดคือ 
 1.ผีต่าง ๆ    2. ขวัญ  ซึ่งจะได้แยกพิจารณาออกไปคือ

                ความเชื่อเรื่องผี   เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติมีลักษณะเหมือนมนุษย์ 
แต่มีอำนาจเหนือกว่าซึ่งสามารถให้ทั้งคุณและโทษแก่มนุษย์ได้  ผีในความเชื่อของเขาสามารถแบ่งออกได้เป็น 
2 ประเภท  คือ
“ด๊า”  และ “เน้ง”  เน้งเป็นผีฝ่ายดีซึ่งให้คุณแก่มนุษย์  มนุษย์จะขอความช่วยเหลือจาก “เน้ง” 
เพื่อต่อสู้กับผีฝ่ายร้าย ผีสำคัญของ
“เน้ง”  ได้แก่ “ฉี  หยี่”  ส่วน  “ด๊า”  เป็นผีหลายชนิดที่มีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายร้าย  ฝ่ายดีได้แก่

1.       นดู้ ด๊า  ซึ่งเป็นฝีประจำเสากลางในบ้าน  ทำนห้าที่ปกป้อง  คุ้มครองคนในครัวเรือน

2.       ด๊า  สึก๊า  เป็นผีแห่งความร่ำรวยและทรัพย์สมบัติ  อาศัยอยู่ที่แผ่นกระดาษติดฝาผนังใกล้
      กับหิ้งผี

3.       ด๊า  ตร่งฮ์  หรือผีประตู  ทำหน้าที่ปกป้องสัตว์เลี้ยงของครอบครัว

4.       ด๊า  ขอตส่อ ด๊า ขอจู๊  ผีเตาไฟใหญ่และเตาไฟเล็ก มีหน้าที่คล้ายคลึงกับผีอย่างที่ 1,2

จะเห็นได้ว่า “ด๊า”  ที่ให้คุณแก่มนุษย์เป็นผีที่อาศัยอยู่ในบ้าน  อย่างไรก็ดีผีที่ให้คุณดังกล่าวจะ

ให้โทษแก่มนุษย์ได้ถ้าหากมนุษย์ไปลบหลู่หรือขาดการเอาใจใส่ในการเซ่นไหว้บูชา  การเซ่นไหว้  มักจะใช้หมู
หรือไก่แล้วแต่กรณีส่วนผี
“ด๊า”  ฝ่ายร้ายได้แก่ผีที่อยู่ตามป่าเขาเป็นผีที่ดุร้ายและมักจะก่อให้เกิดภัยพิบัติแก่มนุษย์

                   ความเชื่อเรื่องขวัญ  ขวัญเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติอย่างหนึ่ง  แต่ไม่ได้มีลักษณะเหมือนมนุษย์  อย่าง “เน้ง”  และ “ด๊า”  แม้วเรียกขวัญว่า “ปลี่ว์”  ซึ่งเชื่อว่าอยู่ในร่างกายของมนุษย์  ตั้งแต่ 4 – 9 แห่ง แล้วแต่ความเชื่อถือ

                  เมื่อขวัญบางส่วนออกไปจากร่างกายมนุษย์จะทำให้มนุษย์เกิดอาการเจ็บป่วย  การตายของมนุษย์
แสดงว่าขวัญออกไปจากร่างกายทั้งหมด  ดังนั้น  มนุษย์จึงต้องระวังมิให้ขวัญเกิดการตกใจซึ่งจะทำให้ขวัญหนีออกไปจากร่างกายของมนุษย์จึงมีการบำรุงรักษาขวัญหรือมัดขวัญอยู่สม่ำเสมอ  และมีพิธีเรียกขวัญกลับมาถ้าหากข
วัญหนีออกไปจากร่างกาย

                  ผู้ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับอำนาจเหนือธรรมชาติได้แก่  หมอผี (ตสี เน้ง)  เมื่อมีผู้ใดเจ็บป่วยหรือประสบภัยพิบัติต่าง ๆ หมอผีจะทำหน้าที่ตรวจสอบว่าเกิดจากการกระทำของผีชนิดไหนหรือสาเหตุของ
การป่วยไข้เกิดจากอะไร  ทั้งนี้อาจจะกระทำได้โดยการใช้ไม้คู่เสี่ยงทาย (กัวะ) หรือการประกอบพิธีติดต่อกับผี (อัว เน้ง)  เพื่อหาวิธีบรรเทา หรือรักษาอาการเจ็บป่วยหรือภัยพิบัติต่าง ๆ

                  ดังได้กล่าวมาแล้ว่า  แม้วไม่ได้พิจารณาว่าอาการเจ็บป่วยหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ว่าเกิดจากการกระทำของอำนาจเหนือธรรมชาติแต่อย่างเดียว  ดังนั้นในการรักษาความเจ็บป่วยนอกจากการใช้หมอผี หรือ “ตสี เน้ง” 
แล้วยังอาจที่จะใช้หมอยา  หรือ
“กื่อ ชั่ว”  ก็ได้  หมอยานี้มิได้เป็นผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อกับผีเป็นผู้ที่มีความชำนาญในการใช้ยากลางบ้านหรือสมุนไพร

 

5. ระบบเศรษฐกิจ

                  ปัจจุบันไม่อาจกล่าวได้ว่า  แม้วเป็นสังคมที่มีการประกอบการเกษตรเพียงอย่างเดียว  เนื่องจากหมู่บ้านแม้วในท้องที่อำเภอและจังหวัดต่าง ๆ ได้รับอิทธิพลจากภายนอกและการพัฒนาจากหน่วยราชการต่าง ๆ
ในระดับมากน้อยต่างกัน  สภาพดังกล่าวทำให้ระบบการเกษตรมีความแตกต่างกันตั้งแต่การเกษตรแบบทำไร่เลื่อนลอยแบบหมุนเวียนไปจนถึงแบบถาวร  นอกเหนือจากการเกษตร ก็มีการอพยพเข้าไปอยู่ในเมืองจำนวนมาก 
แม้วมีลักษณะนิสัยที่เด่นอย่างหนึ่งคือ  เป็นคนขยันขันแข็งในการทำงาน  มีความชำนาญด้านการซื้อขายสินค้า 
จึงทำให้มีแม้วจำนวนหนึ่งอพยพเข้าไปอยู่ในเมืองเป็นเจ้าของร้านค้า  เป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอสมควร 
อาชีพในเมืองของชาวเขาเผ่านี้มีมากมายหลายประเภท  เช่นเป็นเจ้าของกิจการขายสินค้าในตลาดไนท์บาร์ซ่าร์  ขายพืชผัก  ผลไม้
ดอกไม้  ทำกิจการด้านธุรกิจท่องเที่ยว  เป็นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ  บวชเป็นพระภิกษุ  สามเณร ฯลฯ

 

6. การศึกษา

                 แม้วนิยมส่งบุตรหลานให้ศึกษาเล่าเรียนกันทุกหมู่บ้าน มิตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กถึงระดับมหาวิทยาลัย 
ผู้ที่เรียนจบมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีและโท  เฉพาะบ้านแม้วเข็กน้อย  อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์มีมากกว่า  20 คน