ประวัติความเป็นมา
คำว่า มูเซอ
เป็นคำภาษาไทยใหญ่
ซึ่งคนไทยเรานำมาใช้เรียกชนชาวเขาเผ่าหนึ่งซึ่งเรียกตน
เองว่า ล่าหู่
มูเซอในความหมายของคนไทย หมายถึงมูเซอดำ(ล่าหู่นะ)
มูเซอแดง (ล่าหู่ณี) และมูเซอกุ้ย
หรือมูเซอเหลือง (ล่าหู่ฌี)
ถิ่นกำเนิดของมูเซออยู่ใกล้เขตแดนประเทศธิเบตแล้วจึงอพยพเคลื่อนย้ายไปทางตอนใต้ของยูนนาน
ภายหลังพวกมูเซอมีความเกี่ยวพันกับกลุ่มชนเชื้อชาติโลโล
ซึ่งก็มาจากธิเบตและอพยพไปอยู่ทางใต้
ของประเทศจีน
จะเห็นได้ว่ามีลักษณะบางสิ่งบางอย่างที่คล้ายกับพวกลีซอและอีก้อ
ภาษาพูดของมูเซอจัดอยู่ในตระกูลจีน
ธิเบต
มีลักษณะเป็นภาษาคำโดด ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด
แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มภาษา ล่าหู่นะ
(มูเซอดำ) และกลุ่มภาษา ล่าหู่ฌี
(มูเซอเหลือง)
และในการติดต่อสื่อสารระหว่างมูเซอกลุ่มต่าง ๆ
รวมทั้งอีก้อ ลีซอ จีนฮ่อ พวกนี้มักจะใชย้ภาษาถิ่น
มูเซอดำ
(ล่าหู่นะ) เป็นภาษากลาง
การแบ่งกลุ่ม
มูเซอแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้
4 กลุ่ม กลุ่มใหญ่ 2 กลุ่ม
กลุ่มแรกคือมูเซอดำและมูเซอแดง
กลุ่มเล็ก 2 กลุ่มหลังคือมูเซอฌี หรือมูเซอกุย
และมูเซอเฌเล การแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย
เช่นนี้เป็นการแบ่ง
แต่เพียงคร่าว ๆ
ตามความแตกต่างเพียงผิวเผินในเรื่องพิธีกรรมทางศาสนา
และการแต่งกาย แต่ในทางภาษาศาสตร์แล้ว ภาษามูเซอดำ
มูเซอแดง และมูเซอเฌเล ใช้พูดติดต่อกันได้
ยกเว้นภาษามูเซอกุยเท่านั้นที่ใช้พูดติดต่อ
กับมูเซอกลุ่มอื่นไม่ได้
มูเซอดำ
เรียกตนเองว่า ละหู่นะ
อาจกล่าวได้ว่าพวกนี้เป็นมูเซอดั้งเดิมที่อพยพมาจากทาง
ตะวันออกเฉียงเหนือของเมียนมาร์และยูนนาน
มูเซอแดง
น่าจะถือได้ว่าเป็นสาขาทีแตกต่างจากมูเซอดำ
พวกนี้เรียกตนเองว่า ละหู่ณีย่า
ที่เรียกว่ามูเซอแดงนั้นมีความหมาย 2 ประการ
คือหมายถึงแถบสีแดงผืนผ้าของผู้หญิง
หรืออาจหมายถึงพรานป่าก็ได้
มูเซอฌี
หรือมูเซอเหลือง
ซึ่งคนไทยและไทยใหญ่เรียกว่ามูเซอกุย
พวกนี้เป็นมูเซอที่มา
จากทางใต้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 4
กลุ่มคือมูเซอชีนะตอ มูเซอซีอะ ดออะกา ทั้ง 2
กลุ่มนี้อยู่ทางใต้ของ
ยูนนาน อีก 2 กลุ่มคือ มูเซอชีบาหลาและมูเซอซีบาเกียว
อาศัยในรัฐเชียงตุง รัฐฉานในเมียนมาร์และ
ในประเทศไทย
มูเซอเฌเล
เรียกตัวเองว่า นะเหมี่ยว
มาแต่ครั้งที่ยังตั้งหลักแหล่งอยู่ในยูนนาน และเพิ่งมาเรียกตนเองว่ามูเซอเฌเลก็เมื่ออพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย คนไทยเรียกพวกนี้ว่ามูเซอดำ โดยดูจากลักษณะการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดสีดำ
มูเซอเฌเลในประเทศไทยมี 3 กลุ่ม มูเซอพะคอ
มูเซอนะมือ และมูเซอมะเหลาะ (มะลอ)
การตั้งหมู่บ้าน
ในอดีตหมู่บ้านเซอดำกับหมู่บ้านมูเซอแดงในประเทศไทยมักจะตั้งอยู่ในระดับสูงกว่า
4,000 ฟุต
ขึ้นไป ส่วนหมู่บ้านมูเซอเฌเลอยู่ในระดับ 3,500 ฟุต
เป็นส่วนใหญ่
หมู่บ้านมูเซอกุยอยู่ในระดับต่ำสุดในจำนวนพ
วกมูเซอด้วยกัน
แต่ปัจจุบันมีหมู่บ้านมูเซอที่อยู่ต่ำกว่าระดับดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
เนื่องจากได้มีการอพยพเ
คลื่อนย้ายไปตั้งหมู่บ้านแห่งใหม่ที่มีที่ดินดีกว่าเดิม
พวกนี้จะเลือกตั้งหมู่บ้านในบริเวณที่มีดินอุดมสมบูรณ์มี
แหล่งน้ำอยู่ใกล้ป่า
ส่วนบริเวณที่ใช้เพาะปลูกทำกินนั้นมักจะถางป่าให้ห่างหมู่บ้านออกไป
พวกมูเซอเฌเลนั้นตั้งห
มู่บ้านอยู่ใกล้แหล่งน้ำมากที่สุด
ปัจจุบันมีการอพยพมาตั้งหมู่บ้านใกล้พื้นราบมากขึ้น
เนื่องจากมีปัญหาพื้นที่
ทำกินและจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นมาก
ระบบทางสังคม
สถาบันครอบครัว
โครงสร้างทางสังคมของมูเซอ
ประกอบด้วยหน่วยเบื้องต้น 2
หน่วยคือครอบครัวและหมู่บ้าน
ครอบครัวนี้ยึดถือแบบผัวเดียวเมียเดียว
แต่บางครั้งถ้าครอบครัวมีขนาดเล็กเพราะมีสมาชิกน้อยเกินไปไม่อาจทรงตัวทางเศรษฐกิจหรือประกอบพิธีทางศาสนาได้ตามลำพัง
ก็อาจจะไปอยู่ร่วมกับครอบครัวอื่นที่เกี่ยวดองเป็นญาติกันได้
ส่วนในระดับหมู่บ้านนั้น
หมู่บ้านมูเซอมีลักษณะทางสังคมที่ผูกพันกันอย่างหลวม ๆ
แต่ละครัวเรือนมีอิสระมากสามารถแยกตัวออกจากหมู่บ้านได้ทุกเวลา
ยกเว้นกรณีที่ยังที่มีพันธะเรื่องการแต่งงานหรือเรื่องหนี้สินที่มีต่อเพื่อนบ้าน
ระบบเครือญาติ
มูเซอมีการสืบตระกูลทางฝ่ายแม่
ตัวอย่างที่สนับสนุนความคิดเช่นนี้ได้แก่การที่เด็ก ๆ
ตั้งแต่เกิด
มาก็อาศัยอยู่ในครอบครัวของฝ่ายแม่จนกระทั่งแต่งงาน
(ถ้าไม่ยอมลงไปสร้างบ้านเรือนใหม่) ผู้ชายแต่งงานแล้ว
ก็ต้องออกจากบ้านไปอยู่บ้านภรรยา
แต่เป็นที่สังเกตว่าผู้ชายมูเซอเฌเล เมื่อแต่งงาน
และอาศัยอยู่กับครอบครัวของภรรยาตามประเพณีแล้วมักจะหาเหตุขัดแย้งกับพ่อแม่ทางฝ่ายหญิงหรือฝ่ายภรรยาอยู่บ่อย
ๆ เพื่อแยกตัวไป
สร้างบ้านเรือนใหม่
โดยเขาจะสร้างบ้านและจัดหาพื้นที่ในการสร้างบ้านเอง
เมื่อมีการประกอบพิธีกรรมก็มักจะ
เข้ารวมกับญาติทางฝ่ายสามีและไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวกับญาติทางฝ่ายภรรยาเท่าใดนัก
ฝ่ายสามีจะเป็นผู้สืบสกุลแทน
เมื่อบิดามารดาของตนเสียชีวิต
มูเซอมีชื่อที่ใช้เรียกกันเพียงชื่อแรกชื่อเดียว
ไม่มีแซ่หรือนามสกุลสำหรับผู้ที่มีนามสกุลนั้น
มีใช้อยู่เพราะว่ามีผู้เข้าไปตั้งให้
มีคติของมูเซอกล่าวไว้ว่า มูเซอ
ทุกคนจะต้องช่วยเหลือผู้อื่นที่ต้องการความช่วยเหลือเพราะเป็นญาติพี่น้องกัน
ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่
จึงทำให้ดูเหมือนว่าทั้งหมู่บ้านเป็นญาติพี่น้องกันหมด
แม้จะเป็นญาติใกล้ชิดที่มิได้ร่วมบิดามารดาเดียวกัน
ก็นับถือเป็นญาติทั้งสิ้น
ความสัมพันธ์ทางเครือญาติเช่นนี้
ก่อให้เกิดความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันอยู่เสมอ
แนวความคิดเรื่องการนับญาติเช่นนี้ยิ่งทำให้ระบบเครือญาติขยายวงกว้างออกไปเรื่อย
ๆ
จากการนับถือญาติภายในครอบครัวเรื่อยไปจนถึงลูกพี่ลูกน้องทั้งจากฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่
ลูกของลูก ลูกของลูกพี่ลูกน้อง
ตลอดขึ้นไปจนถึงนับญาติในช่วงอายุที่นับลงถึงลูกหลานในอนาคตอีกชั่ว
อายุหนึ่งลงมา โดยนัยนี้
บางครั้งก็เป็นปัญหาสำหรับบางครัวเรือนต้องแยกย้ายตัวออกไปจากหมู่บ้าน
เพราะความที่มีญาติที่ต้องคอยให้ความช่วยเหลืออยู่มากขนไม่อาจแบกภาระการช่วยเหลือฐาติที่ยากจนได้ตลอดไป
ระบบความเชื่อ
ความเชื่อถือของมูเซอ
เป็นทั้งแบบที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว
และในเวลาเดียวกันก็มีความเชื่อในเรื่องผีสางเทวดาด้วย
เขาเชื่อว่ามีพระเจ้าองค์หนึ่งผู้ทรงสร้างโลกและมนุษย์ขึ้น
ความเชื่อเช่นนี้สอดคล้องกับแนวทางหรือปรัญญาความคิดของคริสต์ศาสนาเป็นผลให้การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในชนเผ่านี้เป็นไปได้ง่าย
พระเจ้าผู้สร้างโลกของมูเซอที่นับถือเป็นพระบิดามีพระนามว่า
กื่อซา
มูเซอได้สร้างวัดอุทิศ
ให้พระองค์ในทุกหมู่บ้าน
เขามีความเชื่อว่าพระเจ้าของพวกเขาเป็นผู้สร้างความดีทั้งมวล
อย่างไรก็ดีนอกเหนือ
จากพระเจ้าแล้วยังเชื่อถือในภูติผีวิญญาณอันได้แก่
ผีเรือน ผีประจำหมู่บ้าน ผีป่า ผีดอย ผีพายุ
ผีฟ้า เป็นต้น
พิธีกรรมสำคัญ
1)
พิธีกรรมฉลองปีใหม่ (เขาะจาเลอ)
มีขึ้นในเดือนมกราคมรวม 14 วัน
โดยมูเซอจะพากันตำข้าวปุกแลกเปลี่ยนกัน
ผู้หญิงผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าประจำเผ่าชุดใหม่อย่างสวยงาม
ไปเต้นรำที่ลานเต้นรำอย่างสนุกสนาน
ทุกคนกินอาหารร่วมกัน รดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่
และในช่วงนี้ถือเป็นช่วงแห่งวันบุญวันแห่งความดี
จึงห้ามสมาชิกในหมู่บ้านทำสิ่งที่ไม่ดีงามโดยเด็ดขาด
เพราะถือเป็นการลบหลู่เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
2)
พิธีกินข้าวใหม่ (จาสือ จ่าเลอ)
เป็นพิธีที่มีความสำคัญเช่นเดียวกันกับวันขึ้นปีใหม่
โดยเป็นเรื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับการนำผลผลิตข้าวและผลผลิตอื่น
ๆ ในไร่ข้าวบริโภค
มูเซอเชื่อว่าผลผลิตข้าวได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเทพเจ้า
ดังนั้นจึงต้องมีพิธีกินข้าวใหม่เพื่อบวงสรวงต่อเทพเจ้าโดยตรง
เป็นการขออนุญาตเกี่ยวข้าวมา
บริโภค พิธีนี้จะขึ้นในราวเดือนกันยายน
ช่วงเวลาประกอบพิธีมี 4 วัน คือ ประกอบพิธี 1 วัน
รดน้ำดำหัวผู้
เฒ่าผู้แก่ 1 วัน พักผ่อน 2 วัน
3)
พิธีทำบุญเรียกขวัญ (บูตีเว จู่จือเลอ)
เป็นพิธีทำบุญโดยการสร้างสะพานเล็กบริเวณริมทางเดินเข้า
ออกหมู่บ้าน
โดยมีหมอผีเป็นผู้ทำพิธี
ในงานนี้ต้องฆ่าหมูเซ่นต่อผีเรือน ผูกข้อมือ
สวดอวยพรและเต้นรำบวงสรวงเทพเจ้า
เพื่อขอให้สมาชิกในหมู่บ้านอยู่ดีกินดีปราศจากโรคร้าย
พิธีดังกล่าวนี้จะกำหนดวันดีเป็น
วันสำหรับการทำพิธี
การปกครอง
ผู้นำของหมู่บ้าน
หมู่บ้านมูเซอ
มีรูปแบบการปกครองเป็นอิสระ หัวหน้าหมู่บ้าน
(คะแซป่า) เป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาด
ในการปกครอง
บางหมู่บ้านนอกจากจะปกครองเพียงหมู่บ้านตนเองแล้ว
ยังปกครองหมู่บ้านอื่นอีกด้วย
ในหมู่บ้านมูเซอมักจะมีผู้นำอยู่ด้วยกัน 3 ฝ่ายคือ
หัวหน้าหมู่บ้าน ผู้นำทางความเชื่อ
และผู้อาวุโสที่มีอิทธิพลในหมู่บ้าน
หัวหน้าหมู่บ้าน
(คะแซป่า)
มีอำนาจหน้าที่ในการปกครองดูแลลูกบ้านในด้านความสงบสุขความปลอดภัย
ชักจูงให้สมาชิก
ของหมู่บ้านร่วมปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมให้ปฏิบัติตามหลักหรือกฎระเบียบจารีต
ให้เป็นไปตามประเพณีนิยมของหมู่บ้าน
มีผู้ช่วยหัวหน้าหมู่บ้านทำหน้าที่แทนหัวหน้าหมู่บ้านในช่วงเวลาที่หัวหน้าหมู่บ้านไม่อยู่
หรืออยู่
แต่ไม่สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้
ผู้นำทางความเชื่อถือ
แบ่งออกได้เป็น 2 ฝ่าย
คือผู้นำทางฝ่ายพิธีกรรม (ปูจา หรือ แก่ลู)
และฝ่ายหมอผี (นี่ตีซอ) ปู่จารเป็น
ผู้มีความรู้ในเรื่องพิธีกรรมทางความเชื่อถือ
การติดต่อกับเทพเจ้ากื่อซา
ดูแลสถานที่ประกอบพิธีกรรมเต้นรำบวง
สรวงเทพเจ้า เป็นผู้ที่มีความประพฤติดีทั้งกาย วาจา
ใจ เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น
บางหมู่บ้านหรือบางกลุ่ม
มีตำแหน่งปู่จอง หรือตูโบ
ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของหมู่บ้าน
ซึ่งอาจจะมีผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยอีก 3 คน คือสล่า
ละซอและ วาจา (สล่าเป็นผู้ช่วยตูโบ ละซอผู้ดูแลวัด
อาจา ผู้ดูแลการทำพิธีให้ถูกต้อง
หมอผี
เป็นผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับภูติผีวิญญาณต่าง ๆ
ซึ่งอาจมีความรู้ความสามารถด้านคาถาอาคมในการขับไล่ภูติผีปีศาจ
ความรู้เหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ
หรือเรียนรู้มาจากผู้รู้จนได้รับการยอมรับจากสมาชิกในหมู่บ้าน
ผู้อาวุโสที่มีอิทธิพล
เป็นกลุ่มผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีในหมู่บ้าน หรือเป็นญาติผู้ใหญ่ของทั้งหัวหน้าหมู่บ้านและผู้นำด้านความเชื่อถือ
เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากสมาชิกในหมู่บ้านและเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพยำเกรง
เป็นที่พึ่งทางเศรษฐกิจแก่สมาชิกโดยทั่วไป
อาจเป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านการรักษาพยาบาล โดยทางไสยศาสตร์
หรือยาแผนโบราณหรือสมุนไพรก็ได้
นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งสำคัญอีกตำแหน่งหนึ่งคือ
ช่างตีเหล็ก (จ่าลี) อาจมี 1 หรือ 2
คนประจำอยู่ในหมู่บ้าน
มีหน้าที่ตีมีดหรืออุปกรณ์ที่ใช้ทางการเกษตร เช่น
เสียม จอบ ให้กับสมาชิกในหมู่บ้าน
ถือเป็นตำแหน่งสำคัญที่ทุกคนต้องให้ความเคารพนับถือเช่นกัน
ลักษณะการปกครอง
ชาวมูเซอไม่มีภาษาเขียน
จึงไม่มีกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อมีข้อพิพาท
ทุกกรณีจึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ใหญ่บ้าน
ซึ่งจะยึดถือตามแนวจารีตประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา
เมื่อมีข้อร้องเรียน
ผู้ใหญ่บ้านจะเรียกประชุมหัวหน้าครอบครัวทุกคนเพื่อชี้จางและตัดสินชี้ขาด
ถ้าหากผลการตัดสินเกิดความขัดแย้งขึ้นอีก
ก็จะให้ผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้านแสดงความคิดเห็น
หากยังตกลงกันไม่ได้ต้องไปปรึกษาผู้ใหญ่บ้านพื้นราบ
มาช่วย
อย่างไรก็ดีผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจหน้าที่ที่จะทำให้เกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่ายอย่างอิสระ
ถ้ามีเรื่องละเมิดเกิดขึ้นแล้ว
ผู้กระทำผิดจะมีโทษเพียงถูกปรับเป็นเงินตามอัตราที่ตกลงกันไว้
แต่ถ้าเป็นการกระทำผิดขั้นรุนแรงแล้ว
ผู้กระทำผิดอาจได้รับโทษโดยการไล่ออกจากหมู่บ้าน
ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน
บางทีก็ไปคาบเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของพ่อครูหรือ
ปู่จาร
การตัดสินใจบางเรื่องจำเป็นต้องอาศัยการตีความทางเวทย์มนต์จากปู่จาร
และปู่จารก็มีอำนาจในการคัดค้าน
การตัดสินใจของผู้ใหญ่บ้านได้
ในบางกรณีปู่จารได้รับการยกย่องให้เป็นผู้แทนพระเจ้าหรือตูโบ
ปู่จารนี้ก็ย่อม
มีอำนาจทางการเมืองเหนือผู้ใหญ่บ้านด้วย
และเป็นไปได้ที่บางหมู่บ้านปู่จารและผู้ใหญ่บ้านจะเป็นคน
ๆ เดียวกัน อย่างไรก็ตาม
ไม่เคยปรากฏว่ามีการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างปู่จารกับผู้ใหญ่บ้าน
ข้อห้ามบางประการที่ควรรู้ในเรื่องพิธีกรรม
ในขณะที่มีพิธีกรรมปีใหม่ (เขาะเจาะเลอ)
ห้ามนำสิ่งเหล่านี้เข้ามาในหมู่บ้าน
1.
ใบไม้สีเขียว เช่น
ใบกล้วย ใบตองตึง ใบสัก
2.
ทุกส่วนของต้นไผ่
และทุกส่วนของต้นกล้วย
3.
ห้ามฟ้องร้องหรือทะเลาะเบาะแว้งและห้ามพูดจาในสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม
4.
ห้ามประพฤติผิดตามประเพณี
และในขณะที่มีพิธีกรรมกินข้าวใหม่
ห้ามทะเลาะเบาะแว้งและห้ามฟ้องร้องกัน
โดยส่วนขณะที่การ
ประกอบพิธีกรรมทำบุญเรียกขวัญ (ปู่ตีเว
จู่จือเลอ) ควรพูดแต่ในสิ่งที่ดีงาม
ห้ามแสดงกริยามารยาทลบหลู่ดูหมิ่นสิ่งที่เคารพเชื่อถือ
และผู้คนที่อยู่ในพิธีกรรม
ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรระมัดระวังในสิ่งเหล่านี้
ในเรื่องที่เกี่ยวกับเพศ
ชาวมูเซอยึดถือเรื่องผัวเดียวเมียเดียวอย่างเคร่งครัดและมีอิสระในการหาคู่ครองและเกี้ยวพาราสี
มีข้อที่ควรระมัดระวังดังนี้
1. ไม่ควรอยู่กันสองต่อสองในที่ลับกับหญิงที่มีสามีแล้ว
2. การประพฤติผิดลูกเมียคนอื่น
ถ้าถูกจับได้นอกจากถูกปรับตามประเพณีแล้วยังเป็นที่ดูถูกดูแคลน
ขาดความเชื่อถือในตัวบุคคลอีกด้วย
3. ควรละเว้นการพูดจายุแหย่
ดูถูกดูแคลน หรือพูดเล่นในข้อเท็จจริงที่ผิด ๆ
ที่เกี่ยวกับเรื่องคู่ครอง
ระบบเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจมูเซอขึ้นอยู่กับการเกษตรแบบทำไร่เป็นหลัก
และมีการเลี้ยงสัตว์ ล่าสัตว์และหาของป่า
พืชหลักของชาวมูเซอได้แก่ ข้าวและข้าวโพด
ในอดีตมูเซอปลูกฝิ่นกันแทบทุกหมู่บ้านแต่ปัจจุบันเลิกปลูกฝิ่นกันหมดแล้ว
และหันมาปลูกพืชทดแทนฝิ่นตามโครงการต่าง ๆ
ที่ทางราชการและองค์กรเอกชนเข้าไปส่งเสริมการ
ปลูกพืชผักชนิดต่าง ๆ สำหรับขาย เช่น มะเขือเทศ
มันฝรั่ง ถั่วแดง ถั่วลันเตา ผักกาดหอม ผักสลัด
ผลไม้ ได้แก่ เสาวรส ท้อ เป็นต้น
การเลี้ยงสัตว์และการล่าสัตว์
นอกจากปลูกพืชหลักแล้ว
มูเซอยังเลี้ยงสัตว์ด้วย ที่นิยมเลี้ยงได้แก่หมู่
และไก่ ซึ่งส่วนใหญ่เลี้ยง
ไว้เพื่อประกอบพิธีกรรมเซ่นไหว้ผีและเพื่อการบริโภค
นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงม้า วัว ควาย
สำหรับใช้งานและขายเป็นสินค้า
มูเซอไม่นิยมทำคอกสัตว์
ใช้วิธีเลี้ยงปล่อยให้สัตว์หากินเองตามชายป่า
จึงมักสูญหายอยู่เสมอ
การล่าสัตว์
เพื่อเป็นอาหาร
เนื้อสัตว์ป่าที่ล่ามาได้บางครั้งก็เอาไปตากแห้งขายได้บ้าง
วิธีการล่าสัตว์ใช้วิธี
ต่างคนต่างไป หรือไล่เหล่าคือไปกันเป็นหมู่
เป็นที่ยอมรับกันว่ามูเซอเป็นนายพรานที่มีความชำนาญ
อาวุธที่ใช้
แต่เดิมใช้หน้าไม้ และปืนแก๊ป
เดี๋ยวนี้ใช้ปืนลูกซองเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี
ปัจจุบันสัตว์ป่าหายากขึ้นทุกที
และเขาก็ทราบดีว่าการล่าสัตว์ป่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
จึงไม่ค่อยมีการล่าสัตว์ป่ากันอีกแล้ว ยกเว้นกรณีมี
หมูป่ามากินข้าวโพด
หรือมีนกมากินข้าวในไร่ที่ข้าวกำลังจะแก่
เจ้าของก็ต้องไล่ล่าสัตว์ดังกล่าวมิให้มาทำลาย
พืชผลของเขา