27/12/48

 

 รวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดแม่ฮ่องสอน

 ประวัติชาวเขา   

 

 กระเหรี่ยง (Karen)  แม้ว (Meo)     เย้า ( Yao)    มูเซอ ( Lahu)        ลีซอ (Lisu)      อีก้อ (Akha)    ลัวะ (Lua)

 

  ถิ่น(H'tin)      ขมุ( Khamu)     ผีตองเหลือง(Malabari)    ปะดอง(Padaung)    ปะหล่อง(Palong)

    

ขมุ KHAMU

ประวัติความเป็นมา

            ขมุ  เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่มีถิ่นที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย  นักภาษาศาสตร์  จำแนกภาษาของชาวขมุอยู่ในตระกูลภาษา มอญ – เขมร  ซึ่งอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก  ชาวขมุเรียกตัวเองว่า “ขมุ”

อ่านว่า ขะ – มุ (เสียงวรรณยุกต์ตรี)   แต่คนต่างเผ่ากับชาวขมุจะเรียกชาวขมุว่า “ขะ-หมุ” (เสียงวรรณยุกต์เอก) ซึ่งคำว่า “ขมุ”  นี้มีความหมายในภาษาไทยว่า “คน”

                ขมุในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ

                1.1 ขมุมกพลาง หรือขมุฮอก

                1.2 ขมุลื้อ

                โดยแยกตามความแตกต่างทางภาษาท้องถิ่นและลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม กล่าวคือ  ชาวขมุลื้อ ค่อนข้างจะเป็นกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากโลกภายนอกมากกว่า  ภาษาที่ใช้พูดจะมีภาษาไทยเหนือปะปนอยู่มาก  การยึดถือจารีตประเพณีและความเชื่อดั้งเดิมก็ค่อนข้างจะเปลี่ยแปลงไปมากกว่า ขมุมกพลาง

ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน

                เชื่อกันว่า ขมุ  เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของเอเชียอาคเนย์  ในปัจจุบัน  ขมุกระจายตัวอยู่ทางประเทศลาวตอนเหนือ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแขวงหลวงพระบางสำหรับในประเทศไทยนั้น  ขมุ  มีอยู่อย่างหนาแน่นในจังหวัดน่าน  นอกจากนั้นมีอยู่ในจังหวัดเชียงราย  ลำปาง  เชียงใหม่  สุโขทัยและอุทัยธานี

                จำนวนประชากร  ขมุ  ในประเทศไทยนั้น  จากการสำรวจพบว่ามี  40 หมู่บ้าน  2,212 หลังคาเรือน 10,519  คน  คิดเป็นร้อยละ 1.15  ของจำนวนประชากรชาวเขาทั้งหมดในประเทศไทย

                เนื่องจากขมุเป็นกลุ่มชาวเขากลุ่มหนึ่งที่ไม่ปลูกฝิ่น  ดังนั้นส่วนใหญ่จึงตั้งบ้านในระดับความสูงที่ต่ำกว่า 1,000 เมตร  เหนือระดับน้ำทะเล  และที่ตั้งหมู่บ้านส่วนใหญ่จะนิยมพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา  นอกจากนี้ยังนิยมตั้งหมู่บ้านที่มีทางเข้าหมู่บ้านหันไปทางทิศตะวันออก  ซึ่งขมุถือว่าจะนำความร่วมเย็นเป็นสุขมาให้แก่คนในหมู่บ้าน

                ลักษณะบ้านขมุ  เป็นบ้านยกพื้นและพื้นบ้านมี  2  ระดับ  บ้านส่วนใหญ่จะมีห้องนอนเดียวซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบบ้านกับลักษณะโครงสร้างของครอบครัว  กล่าวคือ  ขมุมักจะมีครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว  จึงมิได้มีโครงสร้างบ้านที่สามารถ่จะแบ่งออกเป็นห้องเล็ก ๆ ได้มากนัก  และการที่ที่จะต่อเติมบ้านก็กระทำได้ยาก  เนื่องจากเป็นบ้านยกพื้น

ระบบเศรษฐกิจ

                ขมุส่วนใหญ่ หาเลี้ยงชีพโดยการทำไร่บนภูเขา  โดยใช้ระบบการประกอบเกษตรกรรมที่เรียกว่า ไร่หมุนเวียน  กล่าวคือ เมื่อได้ทำการตัดโค่นต้นไม้และเผาเพื่อใช้พื้นที่เป็นที่เพาะปลูกแล้ว  ก็จะใช้พื้นที่แห่งนั้นประมาณ 1 – 3 ปี  แล้วจะปล่อยให้พื้นที่นั้นพักตัวให้ต้นไม้ขึ้นเป็นป่าใหม่  ประมาณ 1 – 3 ปี  แล้วจะปล่อยให้พื้นที่นั้นพักตัวให้ต้นไม้ขึ้นเป็นป่าใหม่  ประมาณ 1 – 3 ปี  เพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นแล้วจึงแผ้วถางกลับไปใช้พื้นที่นั้นใหม่

                ส่วนพืชที่ปลูกนั้น  ได้แก่ข้าวสำหรับบริโภคและข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์  นอกจากนี้ยังมีการปลูกพืชสวนครัว  ซึ่งเป็นพืชจำพวกเครื่องเทศ  เช่น  พริก  หอม  กระเทียม  ตะไคร้  ข่า  ขมิ้น เป็นต้น  เมื่อพิจารณาระบบเศรษฐกิจของขมุโดยส่วนรวมสามารถจัดได้ว่า  ขมุส่วนใหญ่มีระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ

                นอกจากนี้  ขมุ  ยังจัดได้ว่าเป็นพวกที่มีความชำนาญในเรื่องการทำไม้  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  การเลื่อยไม้  ทั้งนี้  เป็นผลเนื่องมาจากการที่ชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาทำอุตสาหกรรมไม้ในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2429  เป็นต้นมา  และได้จ้างพวกขมุมาเป็นคนงานในการทำป่าไม้  ทำให้พวกขมุได้รับความรู้ในเรื่องอุตสาหกรรมไม้  และถ่ายทอดความรู้กันมาจนถึงปัจจุบัน

 

 

 

ความเชื่อถือ

                สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในบ้าน  นอกจากผีหลวง (โฮร่อน่ำ)  และผีหมู่บ้าน (โฮร่อกุ้ง)  ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้านแล้ว ในแต่ละบ้าน  ยังมีผีประจำบ้าน (โฮร่อก้าง)  ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้านแล้ว  ในแต่ละหมู่บ้าน ยังมีผีประจำบ้าน (โฮร่อก้าง) อีกด้วย

ประเพณีที่สำคัญ

1.       พิธีเซ่นไหว้ผีหลวง  จัดขึ้นปีละครั้งหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว

2.       พิธีเซ่นไว้ผีหมู่บ้าน  จัดขึ้นเวลาประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ

3.       พิธีเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลหรือผีบรรพบุรุษในบ้านจัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์

4.       พิธีสงเคราะห์  จัดขึ้นในวันสงกรานต์  เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ออกจากหมู่บ้าน

5.       พิธีเซ่นไหว้ผีไร่  จัดขึ้นปีละสี่ครั้ง  คือ  ก่อนถางป่า  ก่อนปลูกข้าว  ขณะข้าวเริ่มออกรวง  และเมื่อข้าวแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว

ขมุมีความเชื่อเรื่องขวัญว่า  คนเรามีขวัญเก้าขวัญ  คนที่เจ็บป่วย  เพราะขวัญออกร่างไป  การเรียกขวัญ

ให้กลับคืน  ต้องเชิญหมอขวัญมาทำพิธีเรียกขวัญ

 

 

 

 

 

****************************

 

 กระเหรี่ยง (Karen)  แม้ว (Meo)     เย้า ( Yao)    มูเซอ ( Lahu)        ลีซอ (Lisu)      อีก้อ (Akha)    ลัวะ (Lua)

 ถิ่น(H'tin)      ขมุ( Khamu)     ผีตองเหลือง(Malabari)    ปะดอง(Padaung)    ปะหล่อง(Palong)